• 02-689-1818
  • contact.info@carethailand.co.th
  • Thai
  • English

คำถามที่พบบ่อย

ABA ย่อมาจากคำว่า Applied Behavior Analysis ภาษาไทย เรียกว่า เทคนิคการปรับพฤติกรรม โดยเป็นหลักการและวิธีการที่เป็นระบบ ใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  พื่อเพิ่มทักษะที่เหมาะสม และลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ด้วยการปรับสิ่งกระตุ้นที่เกิดก่อนหรือเป็นผลลัพท์ที่เกิดขึ้นหลังจากมีทักษะหรือพฤติกรรมนั้นๆ ผ่านการสอนในลักษณะรูปแบบที่เรียกว่า  The Three Term Contingency : ABC  อันประกอบด้วย  (ตัวกระตุ้น (Antecedent)  พฤติกรรมที่เด็กแสดง (Behavior)-> ผลกระทบจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Consequence)  โดยการใช้ ABA ในการฝึกสอนเด็กที่มีรูปแบบตอนเริ่มแรกของบทเรียนเป็นการสอนที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน  ( DTT- Discreet Trial Training ) เป็นการฝึกที่มีบทเรียนชัดเจนว่าในช่วงเวลานี้ต้องการให้เด็กพัฒนาทักษะเรื่องอะไร ) แล้วจึงค่อยๆ ปรับให้สามารถสอนในสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง ( NET-(Natural Environment Training)  เด็กจะสามารถได้รับการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อลดทอนปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินชีวิตในสังคม

ABA ามารถใช้ในสอนเด็กในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

1)       สอนทักษะใหม่ (เช่น ภาษา, ทักษะทางด้านสังคม, วิชาการ, ทักษะการใช้ชีวิต, การเล่น/งานอดิเรก)

2)       สอนให้เด็กเอาทักษะที่เด็กได้เรียนรู้ ไปใช้กับบุคคลที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจว่าทักษะนั้นๆที่เด็กได้เรียนรู้แล้ว สามารถนำไปใช้ได้จริง (เช่น ใช้กับพ่อแม่, พี่เลี้ยง, เพื่อนที่โรงเรียน, ญาติ)

3)       สอนทักษะในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย (เช่น การออกไปนอกสถานที่ ไปบ้านญาติ และอื่นๆ)

4)       ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ( เช่น การกระตุ้นตัวเอง, การทำร้ายตัวเอง เป็นต้น)

                                                         

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ เราจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า “วิธีการสอน” กับ “เรื่องที่สอน” มีความแตกต่างกัน

ABA คือ “วิธีการสอน” หรือ “สอนอย่างไร” ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กันในวงกว้าง โดยมีรายละเอียดในการนำเอาหลักทฤษฏีไปประยุกต์ใช้

แต่สำหรับ “เรื่องที่สอน” หรือ “สอนอะไร” เป็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ วิธีการสอน”

ภายใต้กรอบความเข้าใจนี้ จะเห็นว่า ABA ที่มีอยู่เดิม กับของ CARE นั้น มีการใช้หลักการ ABA เหมือนกัน นั่นคือการใช้วิธีการสอนแบบเดียวกัน แต่ขณะเดียวกันก็แตกต่างกันที่บทเรียนหรือเนื้อหาที่สอน สำหรับหลักสูตรบทเรียนที่ CARD ทำการสอนที่ชื่อว่า Skills Developing นั้น เป็นบทเรียนที่พัฒนาขึ้นโดย Dr. Doreen Granpeesheh (ผู้ก่อตั้ง CARD) อันมีคุณลักษณะดังนี้

·         คลอบคลุมทักษะ(skill) ที่เด็กต้องการทั้ง 8 ด้าน คือ ภาษา, การจัดการตนเอง, กล้ามเนื้อ, ทักษะสังคม, ทักษะการรับรู้, ทักษะทางวิชาการ, ทักษะการเล่น, และ ทักษะการปรับตัว

·         ทักษะทั้ง 8 ด้านนั้นมีการแตกออกเป็นขั้นตอนที่ละเอียดเพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน

·         มีกระบวนการติดตามวัดผลความก้าวหน้า ว่าเด็กมีความเข้าใจในบทเรียนหรือทักษะ (skill) ที่ได้เรียนไปและสามารถนำไปใช้ได้จริง

                                                       

อย่างที่กล่าวมาว่า ABA (สอนอย่างไร) และบทเรียนที่สอน (สอนอะไร) เป็นคนละประเด็นกัน   และในกรณีนี้ต้องดูว่าเรา “สอนอะไร”ให้กับเด็ก

เด็กที่ดูเหมือนหุ่นยนต์ส่วนหนึ่งเพราะขาดทักษะสังคม (social skill) และ/หรือทักษะการปรับตัว (adaptive skill) จึงเป็นไปได้ว่าบทเรียนที่เด็กเรียนมาอาจเป็นบทเรียนที่ไม่สัมพันธ์และไม่ได้พัฒนาทักษะทั้งสองอย่างหรือบทเรียนไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับเด็ก 

อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงการพัฒนาทักษะต่างๆ ความเข้าใจของคนทั่วไปมักจะคิดว่าทักษะทางสังคม (social skill) และ ทักษะการปรับตัว (adaptive skill) เป็นสิ่งที่ “สอนไม่ได้” ต่างกับทักษะด้านอื่นๆ เช่น  ทักษะด้านวิชาการ(Academic skill) หรือ ทักษะทางด้านกล้ามเนื้อ (motor skill) ซึงเป็นสิ่งที่ “สอนได้”  แต่ที่นี่เรามั่นใจว่าทักษะทั้งสอนด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม (social skill) และ/หรือด้านการปรับตัว (adaptive skill) นั้นสามารถสอนได้ และเรามีบทเรียนแยกย่อยมากมาย ที่จะสอนทักษะดังกล่าว

    

บทเรียนการสอนนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ                        

-         Discrete Trial Training (DTT) คือ การสอนหรือพัฒนาทักษะแบบตัวต่อตัวโดยสอนอย่างมีการวางแผน, การควบคุม, และระบบที่ชัดเจน  ในการใช้ DTT มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะและจะแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อย แยกสอนเป็นขั้นตอนแบบละเอียดทีละขั้นและจะสอนแบบซ้ำๆ โดยแต่ละขั้นจะมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจน

 

-        Natural Environment Training (NET) คือ การพัฒนาทักษะที่มีอยู่และปรับใช้ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติให้เหมาะสมตามสถานการณ์ โดยยังคงไว้ซึ่งระบบของการเรียนรู้ผ่านการให้รางวัลที่เป็นระบบและยังคงอิงแบบแผนของการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์

  ในช่วงเริ่มต้นเนื่องจากคลังทักษะของเด็กยังมีน้อยและไม่สมบูรณ์ บทเรียนจะเป็นแบบ DTT เพื่อเด็กจะได้รับทักษะต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ แต่เมื่อเวลาผ่านไป การใช้บทเรียนแบบ NET จะมีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ บทเรียนแบบ DTT จะลดลงเนื่องจากจะเป็นการนำทักษะที่เด็กๆ ได้เรียนไปเข้ามาสอนในสภาวะแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ (เราเรียกว่าการ ปรับใช้ทั่วไป  หรือ Generalize)  แต่ในที่สุดจะคงเหลือแต่บทเรียน NET เท่านั้น

                                     

คำถามนี้มีลักษณะคล้ายคำถามข้อ 3 สำหรับการให้เด็กนั่งร้อยลูกปัด หรือดูบัตรคำ ถือเป็นหนึ่งในบทเรียนที่สอน (สอนอะไร) ของ ABA  แต่ในขณะที่ ABA คือวิธีการหรือหลักการสอน (สอนอย่างไร) ดังนั้นมองได้ว่าเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่ถูกหลัก

                                                  

สำหรับการฝึกสอนด้วยวิธี ABA จะไม่ใช้การจำกัดขอบเขตหรือบังคับเด็ก  ในทางตรงกันข้าม หลักการ ABA จะใช้กระบวนการเสริมแรงจูงใจ (Reinforcement) มาโน้มน้าวให้เด็กยอมฝึกหรือเรียน  สำหรับนั กพัฒนาทักษะที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีจะสามารถทำให้กระบวนการนี้มีความสนุกสนานและเป็นธรรมชาติ

อย่างไรก็ตามในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และจำเป็นต้องใช้วิธีการ ABA ในการปรับพฤติกรรม การที่เด็กจะเสียใจหรือร้องไห้ก็เป็นการแสดงความต่อต้าน (ส่วนใหญ่จะเป็นในช่วงเริ่มต้นฝึกใหม่ ๆ) และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับพฤติกรรม ซึ่งโดยมากใช้เวลาเพียงไม่นานเด็กจะเรียนรู้และมีความเข้าใจ การแสดงอาการร้องไห้หรือเสียใจก็จะหายไปเอง

ราเริ่มต้นจากการทำประเมินทักษะเบื้องต้น เพื่อระบุว่าทักษะใดที่มีความจำเป็นต้องเสริม ลำดับความสำคัญและขั้นตอนการเสริมของทักษะนั้นๆ จากนั้น ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบโปรแกรมจะทำการระบุบทเรียนทั้งหมดและออกแบบขั้นตอนการสอนตามความต้องการของเด็กแต่ละคน จากนั้นแต่ละบทเรียนจะถูกนำไปสอนให้กับผู้เรียนแต่ละคนผ่านการบำบัดกับนักบำบัด ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นเด็กแต่ละคนจะมีการติดตามผลผ่านคลินิกหรือเวิร์กช็อปเป็นประจำทุกเดือนเพื่ออัปเดตโปรแกรม เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาพัฒนาการของเอย่างต่อเนื่อง