ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของศูนย์แคร์
คุณจันทนีย์ กุมาร์ (Chandni), MA,
BCBA
ตำแหน่ง หัวหน้านักออกแบบโปรแกรมฝึกพัฒนาการและปรับพฤติกรรมด้วยวิธี ABA
ปัจจุบันดิฉันทำงานในตำแหน่งนักออกแบบโปรแกรมการบำบัดพฤติกรรมด้วยวิธี ABA ที่ศูนย์แคร์ หลังจากจบปริญญาโทสาขาจิตวิทยาคลีนิคโดยเฉพาะทางด้าน ABA จากมหาวิทยาลัยของรัฐแคลิฟอร์เนียในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างที่ทำการศึกษาอยู่นั้นได้มีโอกาสในการทำงานภาคสนามของโปรแกรมบำบัดแบบ ABA ซึ่งทำให้ได้เห็นการทำงานของโปรแกรมในการช่วยพัฒนาการของน้อง ๆ ที่มีความต้องการซึ่งผลที่ได้จะเห็นว่าน้องๆ มีการพัฒนาการที่ดีขึ้นและลดพฤติกรรมอันเป็นปัญหาอุปสรรคของเขาได้อย่างชัดเจน ทำให้มีความรู้สึกรักและตัดสินใจเข้ามาทำงานในอาชีพนี้เพื่อช่วยน้องที่มีความต้องการในอนาคตต่อไป
ก่อนการเข้าศึกษาต่อนั้น ดิฉันคิดว่าจะกลับบ้านที่ประเทศไทยเพื่อสร้างศูนย์ช่วยเหลือบำบัดให้กับเด็กสังคมของไทยและรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่มีศูนย์แคร์ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานแคร์ในการที่จะบรรรลุถึงความตั้งใจของดิฉันเองในการช่วยเหลือเด็กๆ ในประเทศของเรา
ดิฉันรู้สึกรักในการทำงานกับเด็กๆ และการเห็นพวกเขาเติบโตไปตามวัยอย่างเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ดีมากๆ ในการทำงานของเราจะเป็นแบบโปรแกรมรายบุคคลเพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างและต้องการที่ไม่เหมือนกัน ดิฉันสัมผัสได้ว่าไม่เพียงแต่เราสอนพวกเขาแต่เราก็ได้การเรียนรู้จากพวกเขาด้วยเช่นกันและมองไม่ออกเลยว่าจะไปทำอาชีพอื่นได้อีกนอกจากเส้นทางนี้เท่านั้น
คุณธิดารัตน์ ไชยศิริ (ครูเอ)
ตำแหน่ง นักออกแบบโปรแกรมฝึกพัฒนาการและปรับพฤติกรรมด้วยวิธี ABA
นักเรียนส่วนใหญ่เรียกกันว่าครูเอ หรือ พี่เอ เป็นเวลากว่า 5 ปีที่ดิฉันทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดโดยทำงานดูแลทั้งผู้ใหญ่และเด็กก่อนที่จะเปลี่ยนสายงานและมาเริ่มต้นทำงานกับศูนย์แคร์ในฐานะนักปรับพฤิตกรรมในเดือนตุลาคม ปี 2012 ซึ่งเป็นการทำงานเกี่ยวกับเด็กที่ดิฉันรัก
ดิฉันทราบว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันและดิฉันตระหนักถึงความสุขอันยิ่งใหญ่เมื่อเด็กๆ ที่ดิฉันดูแลได้รับการเรียนรู้ที่ดีที่สุดโดยวิธีการที่ถูกต้อง ดิฉันเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเวลาทุกนาทีมีความสำคัญกับเด็กๆ ที่ต้องการพัฒนาทักษะของเขาเหล่านั้นมาก หลังจากที่ได้ทำงานกับศูนย์แคร์ ดิฉันประทับใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมด้วยวิธีการ ABA ที่ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาทักษะของเด็ก ๆ แต่ยังสามารถดึงดูดเด็กๆ ให้เข้าหาครอบครัวของเขาได้ทำให้เกิดความสุขขึ้นในครอบครัวของเขาเอง
ดิฉันคิดว่าเราโชคดีที่มีศูนย์แคร์เกิดขึ้นในประเทศไทย การมีศูนย์นี้จะสามารถช่วยให้เด็กในประเทศได้มีโอกาสการในการช่วยเหลือและพัฒนาทัดเทียมกับเด็กๆ ในประเทศอื่นๆ เด็กที่มีภาวะออทิสซึมอาจมองว่ายากต่อความเข้าใจสำหรับคนภายนอกที่จะเรียนรู้ความต้องการของเขาเพราะพวกเขาเหล่านั้นก็มีปัญหาในการเข้าร่วมกับสังคมส่วนใหญ่, การสื่อสาร และการเรียนรู้ที่เป็นการกระทำซ้ำ ๆ อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีความเข้าใจ มีความเชื่อ และศรัทธาว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ ดิฉันก็มั่นใจว่าการดึงพวกเขากลับมาเป็นอย่างที่ควรจะเป็นไปตามวัยของพวกเขานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คุณสุธิดา สีบุญชู(ครูเม)
ตำแหน่ง
สวัสดีค่ะ เม ทำงานในตำแหน่งนักออกแบบโปรแกรมปรับพฤติกรรมโดยใช้วิธี ABA ให้กับศูนย์แคร์ ซึ่งเป็นองค์กรที่เมทำงานด้วยมากว่า 8 ปี แล้วค่ะ เมทำงานและคุ้นเคยกับเด็กๆมาตั้งแต่ยังทำงานพิเศษเมื่อตอนศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย เมเชื่อว่าเด็กเป็นอนาคตและกำลังสำคัญของสังคม เพราะฉะนั้นเลยเชื่อว่าการส่งเสริมและสนับสนุนให้พวกเขาเติบโตอย่างมั่นคงแข็งแรงนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นค่ะ
ABA เป็นหลักการที่สามารถช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้รับการเรียนการสอนทักษะที่จำเป็นอย่างเป็นระบบและวางแผนโดยเฉพาะสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ตอบโจทย์กับวิธีการและระยะเวลาที่ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้โลกใบนี้แตกต่างกันไป อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากคือเราไม่ได้ทำงานแค่กับผู้เรียนโดยตรง แต่เราทำงานกับสภาพแวดล้อมของผู้เรียนควบคู่กันไปด้วย ทั้งผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนของผู้เรียน เพื่อสนับสนุนทั้งชุมชนไปพร้อมๆกัน
หลายครั้งที่ผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ถูกกีดกันออกจากการใช้ชีวิต, การเรียนรู้, และการดำรงชีวิตด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมเพราะเหตุนั้น เมหวังว่าในอนาคตจากการร่วมมือกันของหลายๆคนทีละน้อย ชุมชนจะสามารถเป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างเท่าเทียมค่ะ
คุณศิรินทร์ทิพย์ เตยหอม (ครูสอง), MA, BCBA
ตำแหน่ง นักออกแบบโปรแกรมฝึกพัฒนาการและปรับพฤติกรรมด้วยวิธี ABA
สวัสดีค่ะ ขออนุญาตเรียกแทนตัวเองว่า สอง นะคะ สองเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์พฤติกรรมโดยใช้หลัก ABA (Applied Behavior Analysis) และขณะนี้ทำงานในตำแหน่งนักออกแบบโปรแกรมการบำบัดพฤติกรรมที่ CARE ประเทศไทยค่ะ
สองเริ่มทำงานในฐานะนักวิเคราะห์พฤติกรรมด้วยหลัก ABA ในปี 2017 แต่จริงๆ แล้ว สองมีความสนใจในด้านการวางแผนปรับพฤติกรรมตั้งแต่ช่วงที่เรียนจบปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใหม่ๆ
เลยค่ะ หลักจากที่ได้มีโอกาสเป็นครูการศึกษาพิเศษอาสาสมัครในโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความหลากหลายทางการเรียนรู้ ซึ่งในฐานะนักศึกษาจบใหม่
พอได้มาเห็นการทำงานจริงแล้วรู้สึกว่า ความรู้ที่มียังไม่พอกับการวางแผนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ สองเลยค้นไปค้นมาก็ได้มาเจอกับ ABA ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายและกลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต สอนทักษะ และปรับลดพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ที่สองใช้อยู่ในปัจจุบันค่ะ
หลักจากที่ได้ศึกษามากขึ้นทำให้รู้ว่า ในต่างประเทศนั้น การวางแผนการบำบัดด้วย ABA นั้นนับเป็นมาตรฐานที่ผู้มีความหลากหลายทางการเรียนรู้ควรจะได้รับ และเป็นหนึ่งในหลักการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
รวมทั้งมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้การรับรอง สิ่งนี้เองที่ทำให้สองตัดสินใจที่จะศึกษาในระดับปริญญาโทในสาขา Applied Behavior Analysis ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากเรียนจบสองตัดสินใจกลับมาทำงานที่ประเทศไทยโดยเริ่มจากการเป็น Junior therapist ที่ CARE และสองได้สอบผ่านใบรับรองการทำงานสำหรับอาชีพผู้วิเคราะห์พฤติกรรมจากอเมริกา หรือ Board Certified Behavior Analyst (BCBA) ในปี 2020
ตั้งแต่ปี 2017 จนถึงปัจจุบัน สองได้มีประสบการณ์ในการทำงานกับผู้เข้ารับการบริการที่มีช่วงอายุแตกต่างกันไป โดยโปรแกรมที่สองวางไว้
ถูกนำไปใช้สอนในสถานที่ที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นที่ CARE, ที่บ้าน หรือที่โรงเรียน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนจะนำทักษะที่เรียนรู้ไปใช้ในสภาพแวดล้อมจริงได้ นอกจากนี้สองยังมีโอกาสจัดการอบรมให้กับคุณครูแบบผู้ปกครองเพื่อให้ทุกคนมีเครื่องมือที่จะนำไปใช้ต่อยอดในการสอนบุตรหลานหรือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ทำให้สองรู้สึกถึงคุณค่าของการทำงานในตำแหน่งนี้คือการได้เห็นความเปลี่ยนที่ดีที่เกิดขึ้นจาก ABA ซึ่งไม่เพียงแต่สำหรับนักเรียน แต่ยังส่งผลต่อผู้ปกครองและผู้ดูแลด้วยค่ะ
ABA ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
และส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีทักษะที่จำเป็นในการดูแลตนเอง ที่ผ่านมาสองได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดี โดยการลดอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นไปพร้อมๆกัน สองจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างความแตกต่างในทางที่ดีเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้เข้ารับบริการและบุคคลที่อยู่รอบตัว
ทั้งยังเชื่ออีกว่าไม่ว่าใครก็สามารถเรียนรู้ได้ในแบบฉบับของตนเอง สองดีใจที่จะได้แบ่งปันความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการพัฒนาศักยภาพ ขอบคุณที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ของCARE และหวังว่าจะได้พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการทำงานร่วมกันเพื่อจะได้เป็นกำลังสนับสนุนให้กับผู้ที่มีความหลากหลายทางการเรียนรู้และครอบครัว รวมถึงบุคคลอื่นๆที่สนใจค่ะ ขอบคุณค่ะ